DOWNLOAD ARTICLE IN ENGLISH
 ดาวน์โหลดบทความเป็นภาษาอังกฤษ

กระบวนการเผาผลาญอาหารคือการทำปฏิกิริยาทางเคมีในสิ่งมีชีวิตเพื่อรักษาชีวิตให้ดำรงอยู่ต่อไป กระบวนการเหล่านี้ทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถเจริญเติบโต แพร่พันธุ์และรักษาองค์ประกอบของร่างกายรวมทั้งรับมือกับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมได้

ตามปรกติ กระบวนการเผาผลาญอาหารจะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ:

  • กระบวนการสลายตัว — สารอินทรีย์ที่มีความซับซ้อนจะแตกตัวเป็นสารที่มีความซับซ้อนน้อยลง ซึ่งตามปรกติแล้วจะปลดปล่อยพลังงาน
  • กระบวนการสังเคราะห์ – สารที่มีความซับซ้อนน้อยจะก่อตัวเป็นสารที่มีความซับซ้อนมากกว่า ซึ่งจะทำให้ต้องใช้พลังงาน [1]

ลิพิดคือไขมันที่ถูกสังเคราะห์ในตับหรือเข้าสู่ร่างกายผ่านทางอาหาร นอกจากหน้าที่ในการให้พลังงานแล้ว ไขมันยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเยื่อหุ้มเซลล์ มีส่วนในการสังเคราะห์ฮอร์โมน การส่งกระแสประสาทและยังทำหน้าที่ที่สำคัญอื่น ๆ อีกมากมาย ไขมันทุกชนิดจะไม่ชอบน้ำและไขมันส่วนใหญ่จะไม่ละลายในเลือด ดังนั้นการเผาผลาญลิพิดจึงเป็นกระบวนการทางเคมีฟิสิกส์ที่ค่อนข้างซับซ้อนภายในร่างกาย [2]

ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับการเผาผลาญลิพิดส่งผลต่อกระบวนการดูดซึม การเปลี่ยนแปลงและการเผาผลาญไขมันในร่างกาย ดังนั้น จึงส่งผลอย่างมากต่อสถานะของสิ่งมีชีวิตแบบองค์รวมและอาจเป็นสาเหตุให้เกิดผลกระทบที่รุนแรงได้

 

ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของความผิดปรกติในการเผาผลาญลิพิด ได้แก่:

  • การสืบทอดจากบิดามารดาซึ่งมียีนที่ทำหน้าที่ในการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลผิดปรกติคนใดคนหนึ่งหรือทั้งสองคน [3]
  • วิถีชีวิตที่มักจะนั่งอยู่กับที่โดยไม่มีการเคลื่อนไหว
  • โรคเบาหวาน [4]
  • การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
  • ท่อน้ำดีอุดตัน
  • โรคไตเรื้อรัง
  • ภาวะพร่องไทรอยด์ [5]
  • ยาหรือการใช้ยาหลายประเภทร่วมกัน

ความผิดปรกติในการเผาผลาญลิพิดเป็นสาเหตุหลักอย่างหนึ่งของโรคหลอดเลือด, โรคอ้วน, ความเสื่อมของระบบประสาทและการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ และยังเป็นสาเหตุของอาการต่อไปนี้อีกด้วย:

  • การขาดเอนไซม์ไลเปสของตับอ่อน [6]
  • การผลิตน้ำดีบกพร่อง
  • การหยุดชะงักของต่อมไทรอยด์ ระบบสืบพันธุ์และต่อมใต้สมอง
  • การทำงานของไฮโปทาลามัสล้มเหลว [7]
  • เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านลบสำหรับการทำงานของระบบประสาท
  • ร่างกายมีกรดมากเกินไปซึ่งเกิดจากการสร้างคีโตนที่เพิ่มขึ้น [8]
  • ความผิดปกติของเยื่อบุผิวในลำไส้
  • การได้รับรังสีไอออไนซ์ [9]
  • โรคต่างๆ เช่น ดีซ่าน ภาวะอักเสบของตับอ่อน การทำงานผิดปรกติของตับ โรควิปเปิลและอื่น ๆ [10]

เป็นที่แน่นอนว่าทุกคนจะต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพในชีวิต ซึ่งไม่เพียงแต่จะต้องทำการรักษาเท่านั้น แต่ยังต้องป้องกันการกำเริบของโรคและความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นอีกด้วย เป็นที่ทราบกันดีว่าผลลัพธ์ที่อันตรายจะทำให้เกิดการรบกวนต่อการเผาผลาญลิพิดและวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดก็คือการจัดการที่สาเหตุของโรคโดยตรงนั่นเอง

จากข้อมูลในการวิจัย เคอร์คูมินเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการป้องกันไม่ให้เกิดการก่อตัวของกระบวนการทางพยาธิวิทยาในร่างกาย [11]

เคอร์คูมินคือสารเคอร์คูมินอยด์ที่สำคัญ [12] ซึ่งพบได้ในหัวขมิ้นชัน [13]  

เคอร์คูมินเป็นสารประกอบตามธรรมชาติที่ได้รับการทดสอบมากที่สุดตัวหนึ่ง  ผลเสียอย่างหนึ่งของการมีไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้นคือการอักเสบเรื้อรังที่ไม่รุนแรง ซึ่งนำไปสู่ภาวะเมตาบอลิกซินโดรมหรือโรคอ้วนลงพุงรวมทั้งโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาในห้องทดลองแสดงให้เห็นว่าเคอร์คูมินคือสารเมตาโบไลต์หลักที่พบได้ในพลาสมา ซึ่งจะช่วยลดดัชนีมวลกาย ระดับฮีโมโกลบิน กลูโคสและไตรกลีเซอไรด์ได้ [14] ช่วยเร่งกระบวนการเผาผลาญในร่างกาย ปรับปรุงความไวของอินซูลิน ควบคุมการตายของเซลล์ไขมัน [15] และยับยั้งเอนไซม์ที่มีหน้าที่พื้นฐานในกลไกของการเกิดโรคอ้วน

ทั้งหมดนี้ทำให้เคอร์คูมินเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันหรือแก้ไขความผิดปกติของการเผาผลาญไขมันในร่างกายและโรคต่าง ๆ ที่เกิดจากความผิดปกตินี้ [16] [17] [18] [19] [20] [21] [22]

 

นอกจากนั้น ในสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมในห้องทดลอง เคอร์คูมินยังแสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาอีกหลายอย่าง เช่น เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ต้านมะเร็ง ป้องกันหัวใจ ป้องกันตับ ต้านอาการซึมเศร้า เพิ่มภูมิคุ้มกัน ฯลฯ [23]

โชคร้ายที่สิ่งที่ค้นพบในเบื้องต้นเหล่านี้ไม่ได้รับการสนับสนุนให้นำมาทดลองกับมนุษย์เนื่องจากปริมาณชีวปริมาณออกฤทธิ์ที่ต่ำมากของเคอร์คูมิน ซึ่งมีไม่เกินร้อยละ 0.1     โดยประมาณ [24] ชีวปริมาณออกฤทิ์ที่ต่ำนี้ทำให้เคอร์คูมินไม่สามารถแสดงศักยภาพในการรักษาได้เมื่อได้รับในรูปของผงหรือสารสกัด

จะเห็นได้ว่าการค้นคว้าเกี่ยวกับเคอร์คูมินในห้องทดลองได้ก่อให้เกิดความสนใจในเคอร์คูมินเพิ่มขึ้นมากทั่วโลก โดยจะเห็นได้ชัดในอุตสาหกรรมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ในแทบทุกเว็บไซต์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จะมีส่วนผสมที่ทำจากผงหรือสารสกัดของขมิ้นชันจำหน่ายมากมายรวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของเคอร์คูมินที่มีต่อโรคต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก การนำเสนอข้อมูลโดยวิธีนี้ถูกนำมาใช้สร้างกรอบความคิดในเวลาที่การค้นพบจากห้องทดลองถูกตีความว่าเป็นผลจากการทดสอบทางคลินิก ในความเป็นจริงแล้ว ทั้งสารสกัดและผงของขมิ้นชั้นไม่สามารถทำปฏิกิริยาทางเภสัชวิทยาได้เหมือนกับที่เคอร์คูมินได้แสดงให้เห็นจากการวิจัยในห้องทดลอง การเพิ่มชีวปริมาณออกฤทธิ์ของเคอร์คูมินกลายมาเป็นหัวข้อในการวิจัยของคนหลายกลุ่มในหลายช่วงทศวรรษที่ผ่านมา [25] ในปัจจุบัน มีการพัฒนาเทคโนโลยีมากมายเพื่อเพิ่มชีวปริมาณออกฤทธิ์ของเคอร์คูมินและเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดสำหรับการนำส่งสารออกฤทธิ์เข้าไปในกระแสเลือดก็คือไลโปโซม [26]

เทคโนโลยีในการนำส่งเคอร์คูมินโดยใช้ไลโปโซมนั้นทำให้สามารถนำฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่ต้องการมาใช้ในมนุษย์และสัตว์ได้ซึ่งสามารถเห็นได้จากการศึกษาทางห้องทดลองที่มีมากมายหลายพันครั้ง [27] [28]

References:

1             https://en.wikipedia.org/wiki/Metabolism

2             https://en.wikipedia.org/wiki/Lipid

3             https://en.wikipedia.org/wiki/Cholesterol

4             https://en.wikipedia.org/wiki/Diabetes

5             https://en.wikipedia.org/wiki/Hypothyroidism

6             https://en.wikipedia.org/wiki/Pancreatic_enzymes_(medication)

7             https://en.wikipedia.org/wiki/Hypothalamus

8             https://en.wikipedia.org/wiki/Ketosis

9             https://en.wikipedia.org/wiki/Ionizing_radiation

10           https://www.researchgate.net/publication/268924446_Disorders_of_Lipid_Metabolism

11           https://en.wikipedia.org/wiki/Curcumin

12           https://en.wikipedia.org/wiki/Curcuminoid

13           https://en.wikipedia.org/wiki/Turmeric

14           https://en.wikipedia.org/wiki/Triglyceride

15           https://en.wikipedia.org/wiki/Adipocyte

16           https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6582779/

17           https://www.hindawi.com/journals/omcl/2020/1520747/

18           https://www.mdpi.com/2072-6643/12/1/118/htm

19           https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5336246/

20           https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S2213422018301069

21           https://bmcgastroenterol.biomedcentral.com/articles/10.1186/s12876-019-1055-4

22           https://bmcnephrol.biomedcentral.com/articles/10.1186/s12882-019-1621-6

23           https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5664031/

24           https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6770259/

25           https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3918523/

26           https://en.wikipedia.org/wiki/Liposome

27           https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3519006/

28           https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5557698/

SUPREME PHARMATECH CO., LTD. SUPREME PHARMATECH CO., LTD. 399/90-95 Moo 13 Kingkaew Rd. Soi 25/1, T. Rachateva, A. Bangplee, Samutprakan 10540, THAILAND E-Mail : supreme.pharmatech@gmail.com ID Line : supremepharmatech Hotline : 0888 700-007 Tel. +66-2-1307888
Fax +66-2-1307889