DOWNLOAD ARTICLE IN ENGLISH
 ดาวน์โหลดบทความเป็นภาษาอังกฤษ

โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมของระบบประสาท [1] ประมาณ 60-70% ของคนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ทั้งหมดมีสาเหตุมาจากการเป็นโรคสมองเสื่อมมาก่อน [2]

ในทุก ๆ 3 วินาที จะมีคนบนโลกนี้เป็นโรคสมองเสื่อม ในปี พ.ศ. 2558 มีคนประมาณ 46.8 ล้านคนทั่วโลกที่เป็นโรคสมองเสื่อม และเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 50 ล้านคนในปี พ.ศ. 2560 ซึ่งประมาณ 60% ของคนเหล่านี้อาศัยอยู่ในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง โดยจะมีผู้ป่วยรายใหม่เกิดขึ้นประมาณ 10 ล้านคนต่อปี [3]

ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับโรคอัลไซเมอร์คือกลุ่มประชากรที่มีอายุ 65 ปี โดยประเทศจีน อินเดีย เอเชียใต้และแปซิฟิกตะวันตกมีการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุมากที่สุด [4]

โชคร้ายที่ในปัจจุบัน ยังไม่สามารถหาเหตุผลของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ อย่างไรก็ตาม มีการตั้งสมมติฐานของการเกิดโรคไว้ ซึ่งประกอบด้วย:

  1. สมมติฐาน Cholinergic เกิดจากกระบวนการลดการจับตัวของสารสื่อประสาท [5] Acetylcholine [6] ในปัจจุบัน สมมติฐานนี้ได้รับการพิจารณาว่าเป็นไปได้น้อย
  2. สมมติฐาน Amyloid เกิดจากการสะสมของเบต้า — อะไมลอยด์ [7] ในสมอง
  3. สมมติฐาน Tau เกิดจากความผิดปกติในโครงสร้างของโปรตีน Tau [8]
  4. สมมติฐานเกี่ยวกับการติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อก่อโรค Porphyromonas Gingivalis [9] ซึ่งตั้งรกรากอยู่ในสมองและทำให้การผลิตเบต้า — อะไมลอยด์เพิ่มขึ้น
  5. สมมติฐาน Mitochondrial Cascade เกิดจากการทำหน้าที่ของ Mitochondria ที่ลดน้อยลง [10] ซึ่งไปกระตุ้นการแสดงออก [11] ของความชรา
  6. สมมติฐานเกี่ยวกับสภาวะสมดุลของแคลเซียม [12] ที่เกิดจาก Calcineurin [13] ซึ่งไปกระตุ้นปฏิกิริยาของกระบวนการอักเสบในแอสโตรไซต์ [14]
  7. สมมติฐานเกี่ยวกับเส้นประสาทและหลอดเลือด ซึ่งเกิดจากพยาธิสภาพหรือการเปลี่ยนแปลงการทำงานของหลอดเลือดสมอง [15
  8. สมมติฐานเกี่ยวกับการอักเสบที่เกิดจากการตอบสนองต่อการอักเสบในไมโครเกเลีย [16] และแอสโตรไซต์
  9. สมมติฐาน Metal Ion ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของการเผาผลาญธาตุเหล็กในสมอ
  10. สมมติฐานเกี่ยวกับระบบน้ำเหลือง ที่เกิดจากความผิดปกติของการกำจัดของเสียในสมองซึ่งนำไปสู่การสะสมของเบต้า — อะไมลอยด์ในสมอง [17] [18]

โรคอัลไซเมอร์จะก่อตัวขึ้นหลายปีก่อนที่จะมีการแสดงอาการ จากการวิจัยตัวบ่งชี้ทางชีวภาพและการค้นพบที่สำคัญซึ่งได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องทำให้สามารถบ่งชี้การเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ก่อนที่อาการของโรคจะปรากฏขึ้นสิ่งนี้ทำให้มีความเป็นไปได้ที่จะรับมือกับโรคอัลไซเมอร์ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นและเป็นโอกาสอันดีที่สุดที่จะรักษาโรคได้อย่างสัมฤทธิ์ผล [19]

จากข้อมูลในการวิจัย เคอร์คูมินเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการป้องกันไม่ให้เกิดการก่อตัวของกระบวนการทางพยาธิวิทยาในร่างกาย [20]

เคอร์คูมินคือสารเคอร์คูมินอยด์ที่สำคัญ [21] ซึ่งพบได้ในหัวขมิ้นชัน [22]  

เคอร์คูมินเป็นสารประกอบตามธรรมชาติที่ได้รับการทดสอบมากที่สุดตัวหนึ่ง จากการศึกษาในห้องทดลองพบว่าเคอร์คูมินเป็นเครื่องมือในการรักษาโรคที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันหรือรักษาโรคอัลไซเมอร์ [23] [24] ในระหว่างการวิจัย เคอร์คูมินได้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการผ่านแนวกั้นระหว่างเลือดและสมอง [25] เพื่อที่จะออกฤทธิ์ในการป้องกันเซลล์ประสาทและไมโตคอนเดรีย รวมทั้งยับยั้งการสะสมของเบตาเอมีลอยด์และพิษต่าง ๆ [26] [27] [28] [29] [30]

นอกจากนั้น เคอร์คูมินยังแสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาอีกหลายอย่าง เช่น เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ต้านมะเร็ง ป้องกันหัวใจ ป้องกันตับ ต้านอาการซึมเศร้า เพิ่มภูมิคุ้มกัน ฯลฯ [31]

โชคร้ายที่สิ่งที่ค้นพบในเบื้องต้นเหล่านี้ไม่ได้รับการสนับสนุนให้นำมาทดลองกับมนุษย์เนื่องจากปริมาณชีวปริมาณออกฤทธิ์ที่ต่ำมากของเคอร์คูมิน ซึ่งมีไม่เกินร้อยละ 0.1 โดยประมาณ [32] ชีวปริมาณออกฤทิ์ที่ต่ำนี้ทำให้เคอร์คูมินไม่สามารถแสดงศักยภาพในการรักษาได้เมื่อได้รับในรูปของผงหรือสารสกัด

จะเห็นได้ว่าการค้นคว้าเกี่ยวกับเคอร์คูมินในห้องทดลองได้ก่อให้เกิดความสนใจในเคอร์คูมินเพิ่มขึ้นมากทั่วโลก โดยจะเห็นได้ชัดในอุตสาหกรรมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ในแทบทุกเว็บไซต์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จะมีส่วนผสมที่ทำจากผงหรือสารสกัดของขมิ้นชันจำหน่ายมากมายรวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของเคอร์คูมินที่มีต่อโรคต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก การนำเสนอข้อมูลโดยวิธีนี้ถูกนำมาใช้สร้างกรอบความคิดในเวลาที่การค้นพบจากห้องทดลองถูกตีความว่าเป็นผลจากการทดสอบทางคลินิก ในความเป็นจริงแล้ว ทั้งสารสกัดและผงของขมิ้นชั้นไม่สามารถทำปฏิกิริยาทางเภสัชวิทยาได้เหมือนกับที่เคอร์คูมินได้แสดงให้เห็นจากการวิจัยในห้องทดลอง

การเพิ่มชีวปริมาณออกฤทธิ์ของเคอร์คูมินกลายมาเป็นหัวข้อในการวิจัยของคนหลายกลุ่มในหลายช่วงทศวรรษที่ผ่านมา [33]ในปัจจุบัน มีการพัฒนาเทคโนโลยีมากมายเพื่อเพิ่มชีวปริมาณออกฤทธิ์ของเคอร์คูมิน และเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดสำหรับการนำส่งสารออกฤทธิ์เข้าไปในกระแสเลือดก็คือไลโปโซม [34]

เทคโนโลยีในการนำส่งเคอร์คูมินโดยใช้ไลโปโซมนั้นทำให้สามารถนำฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่ต้องการมาใช้ในมนุษย์และสัตว์ได้ซึ่งสามารถเห็นได้จากการศึกษาทางห้องทดลองที่มีมากมายหลายพันครั้ง [35] [36] [37]

References:

1             https://en.wikipedia.org/wiki/Neurodegeneration

2             https://en.wikipedia.org/wiki/Dementia

3             https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/dementia

4             https://en.wikipedia.org/wiki/Alzheimer%27s_disease

5             https://en.wikipedia.org/wiki/Neurotransmitter

6             https://en.wikipedia.org/wiki/Acetylcholine

7             https://en.wikipedia.org/wiki/Amyloid_beta

8             https://en.wikipedia.org/wiki/Tau_protein

9             https://en.wikipedia.org/wiki/Porphyromonas_gingivalis

10           https://en.wikipedia.org/wiki/Mitochondrion

11           https://en.wikipedia.org/wiki/Phenotype

12           https://en.wikipedia.org/wiki/Homeostasis

13           https://en.wikipedia.org/wiki/Calcineurin

14           https://en.wikipedia.org/wiki/Astrocyte

15           https://en.wikipedia.org/wiki/Cerebrovascular_disease

16           https://en.wikipedia.org/wiki/Microglia

17           https://www.nature.com/articles/s41392-019-0063-8

18           https://advances.sciencemag.org/content/5/1/eaau3333

19           https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6417794/

20           https://en.wikipedia.org/wiki/Curcumin

21           https://en.wikipedia.org/wiki/Curcuminoid

22           https://en.wikipedia.org/wiki/Turmeric

23           https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3271601/

24           https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2929771/

25           https://en.wikipedia.org/wiki/Blood%E2%80%93brain_barrier

26           https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5796761/

27           https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6320958/

28           https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5256118/

29           https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5516023/

30           https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5949055/

31           https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5664031/

32           https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6770259/

33           https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3918523/

34           https://en.wikipedia.org/wiki/Liposome

35           https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3519006/

36           https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5557698/

37           https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5077137/

SUPREME PHARMATECH CO., LTD. SUPREME PHARMATECH CO., LTD. 399/90-95 Moo 13 Kingkaew Rd. Soi 25/1, T. Rachateva, A. Bangplee, Samutprakan 10540, THAILAND E-Mail : supreme.pharmatech@gmail.com ID Line : supremepharmatech Hotline : 0888 700-007 Tel. +66-2-1307888
Fax +66-2-1307889