liposomal-curcumin-07-neurology-parkinsons-disease.pdf
 ดาวน์โหลดบทความเป็นภาษาอังกฤษ

โรคพาร์กินสันเป็นโรคเรื้อรังทางระบบประสาทที่มีพัฒนาการช้า ซึ่งเกิดจากกระบวนการทำลายระบบประสาทสั่งการนอกจิตใจ [1] ในผู้สูงอายุ มีการประเมินว่ามีผู้ป่วยจำนวน 6 ถึง 10 ล้านคนทั่วโลกที่ป่วยด้วยโรคพาร์กินสัน รวมถึงกลุ่มชาติพันธุ์และเชื้อชาติพันธุ์ทั้งหมด จำนวนผู้ป่วยโรคพาร์กินสันจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อผู้คนมีอายุมากขึ้น โดยในประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปี จะมีประมาณ 1% และที่มีอายุมากกว่า 80 ปี จะมีประมาณ 4% ส่วนใหญ่แล้ว อาการของโรคในระยะเบื้องต้นจะปรากฏตอนอายุ 55-60 ปี อย่างไรก็ตาม ในบางกรณี โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ก่อนอายุ 40 ปี (ผู้ป่วยพาร์กินสันที่อายุน้อย) หรือแม้แต่ 20 ปี (รูปแบบของโรคในวัยเด็ก) โดยผู้ชายจะป่วยด้วยโรคนี้มากกว่าผู้หญิง

โชคร้ายที่ในปัจจุบัน มีการศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดโรคพาร์กินสันน้อยมาก อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคพาร์กินสันประกอบด้วย [2]:

  • ความบกพร่องทางพันธุกรรม [3]
  • การติดเชื้อทางระบบประสาทชนิดถ่ายโยง [4] [5]
  • หลอดเลือดสมองอุดตัน [6]
  • เนื้องอกและการบาดเจ็บที่สมองบ่อยครั้ง [7] [8]
  • การได้รับสารพิษที่เป็นพิษต่อระบบประสาท [9]
  • ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (เกลือจากโลหะบางชนิด ตัวทำละลายอินทรีย์ สารกำจัดศัตรูพืช สารกำจัดวัชพืช) [9]
  • พิษจากสารเคมีที่หลากหลาย (เอทานอล คาร์บอนมอนอกไซด์ แอลกอฮอล์ที่ใช้ในอุตสาหกรรม ฯลฯ ) [10]
  • การใช้ยาที่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงจากการรักษาอาการทางจิต [11]
  • การขาดวิตามินดีซึ่งช่วยปกป้องเซลล์โครงสร้างของสมอง [12] [13]
  • การอาศัยอยู่ใกล้กับทางด่วนพิเศษ ทางรถไฟหรือองค์กรเดินรถเป็นระยะเวลานาน [14]
  • ความชราทางชีวภาพของร่างกายซึ่งจำนวนเซลล์ประสาทจะลดลงตามธรรมชาติ [15]
  • สมมติฐานของการเกิดออกซิเดชัน [16] [17] โรคพาร์คินสันมีสาเหตุมาจากกระบวนการสูญเสียการทำงานและโครงสร้างของเซลล์ประสาทในอัตราก้าวหน้าที่แพร่กระจายอยู่ทั่วไป รวมทั้งการตายและการสะสมของโครงสร้างที่ผิดปรกติทางพยาธิวิทยาในเซลล์เหล่านี้อย่างต่อเนื่อง การแสดงอาการของโรคพาร์คินสันที่เกี่ยวกับการสั่งการมีความสัมพันธ์กับการสูญเสียเซลล์ประสาทที่ใช้สำหรับสร้างโดปามีนในสมองก่อนถึงเวลาอันสมควร [18]

จากข้อมูลในการวิจัย เคอร์คูมินเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการป้องกันไม่ให้เกิดการก่อตัวของกระบวนการทางพยาธิวิทยาในร่างกาย [19]

เคอร์คูมินคือสารเคอร์คูมินอยด์ที่สำคัญ [20] ซึ่งพบได้ในหัวขมิ้นชัน [21]  

เคอร์คูมินเป็นสารประกอบตามธรรมชาติที่ได้รับการทดสอบมากที่สุดตัวหนึ่ง จากการศึกษาในห้องทดลองพบว่าเคอร์คูมินเป็นเครื่องมือในการรักษาโรคที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันหรือรักษาโรคพาร์กินสัน [22] [23] จากกระบวนการวิจัย เคอร์คูมินได้แสดงให้เห็นว่าสามารถผ่านแนวกั้นระหว่างเลือดและสมอง [24] เพื่อออกฤทธิ์ในการป้องกันเซลล์ประสาท (SN) และเพิ่มปริมาณของโดปามีนได้ [25] [26]

นอกจากนั้น ในสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมในห้องทดลอง เคอร์คูมินยังแสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาอีกหลายอย่าง เช่น เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ต้านมะเร็ง ป้องกันหัวใจ ป้องกันตับ ต้านอาการซึมเศร้า เพิ่มภูมิคุ้มกัน ฯลฯ [27]

โชคร้ายที่สิ่งที่ค้นพบในเบื้องต้นเหล่านี้ไม่ได้รับการสนับสนุนให้นำมาทดลองกับมนุษย์เนื่องจากปริมาณชีวปริมาณออกฤทธิ์ที่ต่ำมากของเคอร์คูมิน ซึ่งมีไม่เกินร้อยละ 0.1 โดยประมาณ [28] ชีวปริมาณออกฤทิ์ที่ต่ำนี้ทำให้เคอร์คูมินไม่สามารถแสดงศักยภาพในการรักษาได้เมื่อได้รับในรูปของผงหรือสารสกัด

จะเห็นได้ว่าการค้นคว้าเกี่ยวกับเคอร์คูมินในห้องทดลองได้ก่อให้เกิดความสนใจในเคอร์คูมินเพิ่มขึ้นมากทั่วโลก โดยจะเห็นได้ชัดในอุตสาหกรรมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ในแทบทุกเว็บไซต์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จะมีส่วนผสมที่ทำจากผงหรือสารสกัดของขมิ้นชันจำหน่ายมากมายรวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของเคอร์คูมินที่มีต่อโรคต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก การนำเสนอข้อมูลโดยวิธีนี้ถูกนำมาใช้สร้างกรอบความคิดในเวลาที่การค้นพบจากห้องทดลองถูกตีความว่าเป็นผลจากการทดสอบทางคลินิก   ในความเป็นจริงแล้ว ทั้งสารสกัดและผงของขมิ้นชั้นไม่สามารถทำปฏิกิริยาทางเภสัชวิทยาได้เหมือนกับที่เคอร์คูมินได้แสดงให้เห็นจากการวิจัยในห้องทดลอง 

การเพิ่มชีวปริมาณออกฤทธิ์ของเคอร์คูมินกลายมาเป็นหัวข้อในการวิจัยของคนหลายกลุ่มในหลายช่วงทศวรรษที่ผ่านมา [29] ในปัจจุบัน มีการพัฒนาเทคโนโลยีมากมายเพื่อเพิ่มชีวปริมาณออกฤทธิ์ของเคอร์คูมิน และเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดสำหรับการนำส่งสารออกฤทธิ์เข้าไปในกระแสเลือดก็คือไลโปโซม [30]

เทคโนโลยีในการนำส่งเคอร์คูมินโดยใช้ไลโปโซมนั้นทำให้สามารถนำฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่ต้องการมาใช้ในมนุษย์และสัตว์ได้ซึ่งสามารถเห็นได้จากการศึกษาทางห้องทดลองที่มีมากมายหลายพันครั้ง [31] [32] [33]

References:

1      https://en.wikipedia.org/wiki/Extrapyramidal_system

2      https://en.wikipedia.org/wiki/Parkinson%27s_disease

3      https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3253033/

4      https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4642437/

5      https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6593078/

6      https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5436473/

7      https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5072611/

8      https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4371406/

9      https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6433887/

10    https://www.hindawi.com/journals/nri/2010/103094/

11    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3325428/

12    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3349248/

13    https://ejnpn.springeropen.com/articles/10.1186/s41983-019-0084-9

14    https://academic.oup.com/aje/article/176/4/299/121232

15    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4406659/

16    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4135313/

17    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5706368/

18    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5913322/

19    https://en.wikipedia.org/wiki/Curcumin

20    https://en.wikipedia.org/wiki/Curcuminoid

21    https://en.wikipedia.org/wiki/Turmeric

22    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3271601/

23    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2929771/

24    https://en.wikipedia.org/wiki/Blood%E2%80%93brain_barrier

25    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5561616/

26    https://www.thno.org/v08p2264.htm

27    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5664031/

28    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6770259/

29    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3918523/

30    https://en.wikipedia.org/wiki/Liposome

32    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3519006/

31    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5557698/

33    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5077137/

SUPREME PHARMATECH CO., LTD. SUPREME PHARMATECH CO., LTD. 399/90-95 Moo 13 Kingkaew Rd. Soi 25/1, T. Rachateva, A. Bangplee, Samutprakan 10540, THAILAND E-Mail : supreme.pharmatech@gmail.com ID Line : supremepharmatech Hotline : 0888 700-007 Tel. +66-2-1307888
Fax +66-2-1307889