DOWNLOAD ARTICLE IN ENGLISH
 ดาวน์โหลดบทความเป็นภาษาอังกฤษ

ปรอทเป็นธาตุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในเปลือกโลกซึ่งสามารถพบได้ในอากาศน้ำและดิน และมักพบในรูปแบบดั้งเดิม (ในรูปของหยดของเหลว    บนหิน) บ่อยครั้งที่จะได้ปรอทจากการเผาแร่ปรอทที่มีอยู่ตามธรรมชาติ [1] สารปรอทจะถูกปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมเมื่อเกิดการระเบิดของภูเขาไฟ          การผุกร่อนของหินและผลจากการกระทำของมนุษย์ โดยสาเหตุหลักของการปล่อยสารปรอทสู่สิ่งแวดล้อมก็คือกิจกรรมของมนุษย์ โดยเฉพาะการผลิตไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าถ่านหิน การเผาไหม้ของถ่านในบ้านเรือนเพื่อให้ความร้อนและปรุงอาหาร กระบวนการทางอุตสาหกรรม การใช้เตาเผาขยะตลอดจนการขุดปรอท ทองและโลหะอื่น ๆ [2]

เมื่อได้รับการปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม ปรอทจะสามารถเปลี่ยนรูปให้เป็นเมทิลเมอร์คิวรี่ได้ภายใต้อิทธิพลของแบคทีเรีย จากนั้นเมทิลเมอร์คิวรี่จะสะสมอยู่ในปลาและหอย และจะถูกถ่ายทอดไปให้ผู้บริโภคตามลำดับการกินผ่านปลานักล่าซึ่งเป็นผลมาจากการกินปลาตัวเล็ก ๆ จำนวนมากที่ยอมจำนนต่ออิทธิพลของมัน

ปรอทมีหลายรูปแบบและได้รับการแบ่งประเภทตามระดับของความเป็นพิษและผลกระทบที่มีต่อร่างกาย:

รูปแบบพื้นฐาน (โลหะ)

  • รูปแบบอนินทรีย์ (อาจได้รับจากสถานที่ทำงาน)
  • รูปแบบอินทรีย์ (เช่น เมทิลเมอร์คิวรี่ อาจได้รับในขณะที่รับประทาน โดยส่วนใหญ่จากการรับประทานปลาและหอย)

สารปรอทสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายรูปแบบ โดยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นระหว่างการบริโภคเมทิลเมอร์คิวรี่ที่อยู่ในอาหารและผ่านการสูดดมสารปรอทในกระบวนการทางอุตสาหกรรม กรรมวิธีการทำอาหารด้วยความร้อนไม่สามารถทำลายสารปรอทได้ ทุกคนจะต้องได้รับสารปรอทในระดับใดระดับหนึ่งโดยไม่มีข้อยกเว้น ผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นอยู่ที่ชนิดและปริมาณของปรอท อายุหรือระยะพัฒนาการของผู้ได้รับสาร ระยะเวลาและรูปแบบของการได้รับสารปรอทเพียงเท่านั้น [3] [4] [5 ] [6]

บริษัทจำนวนมากในอุตสาหกรรมความงามที่ผลิตครีมทำให้ผิวขาวซึ่งมีสารปรอท ส่งผลให้เกิดความเป็นพิษและการหยุดชะงักในการทำหน้าที่ของร่างกาย [7] [8]

เป็นที่ทราบกันดีว่าสารปรอทสามารถสะสมได้และถูกสะสมภายในร่างกาย ส่งผลให้การป้องกันกระบวนการออกซิเดชั่นลดน้อยลง เพิ่มความเครียดออกซิเดชั่น ส่งเสริมกระบวนการอักเสบและการเกิดลิ่มเลือด ทำให้เกิดความผิดปกติของไมโทคอนเดรีย และเป็นสาเหตุให้มีการนำคอเลสเตอรอลไปทำลายที่ตับลดน้อยลง นอกจากนั้น ยังทำให้เกิดการผลิตไนตริกออกไซด์ (และสารอนุมูลอิสระอื่น ๆ) มากเกินไปซึ่งส่งผลต่อไขมันในเยื่อหุ้มเซลล์และเป็นสาเหตุให้เกิดกระบวนการ lipid peroxidation การตายของเนื้อเยื่อและการตายของเซลล์ [9]

การได้รับปรอทเป็นระยะเวลานานสามารถก่อให้เกิดความผิดปรกติในรูปแบบต่าง ๆ ได้ เช่น:

  • ความผิดปกติทางระบบประสาทและพฤติกรรม [10] [11] [12] [13]
  • โรคเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด (หลอดเลือด, กล้ามเนื้อหัวใจตาย, ความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจขาดเลือด, หัวใจเต้นผิดจังหวะ, การอุดตันของเส้นเลือดแดงใหญ่ที่ไปเลี้ยงสมอง, อุบัติเหตุจากหลอดเลือดในสมอง, ภาวะหลอดเลือดแดงแข็งทั่วไป ฯลฯ) [14] [15] [16] [17] [18]
  • ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน [19] [20]
  • ความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ [21] [22]
  • ความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ [23] [24]
  • พยาธิสภาพของปอด [25] [26]
    • โรคไต (ความผิดปรกติของไต, ไตอักเสบ, โรคไตเรื้อรัง, ความชรา) [27] [28] [29] [30]
    • พยาธิสภาพของตับ [31] [32] [33]
    • โรคผิวหนัง (รอยดำ, ผิวหนังอักเสบจากการสัมผัส, ตุ่มหรือก้อนเนื้อเยื่อของผิวอักเสบ) [34]
    • พยาธิสภาพของตา [35] [36] [37]
    • โรคเกี่ยวกับข้อต่อและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน [38]
    • ความเสี่ยงต่อการพัฒนาของทารกในครรภ์และพัฒนาการช่วงแรกของเด็ก [39] [40] [41]
    • สามารถนำไปสู่ความตายได้ [42] [43]

 

จากข้อมูลในการวิจัย เคอร์คูมินเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการป้องกันไม่ให้เกิดการก่อตัวของกระบวนการทางพยาธิวิทยาในร่างกายที่มีสาเหตุมาจากสารพิษ [44]

เคอร์คูมินคือสารเคอร์คูมินอยด์ที่สำคัญ [45] ซึ่งพบได้ในหัวขมิ้นชัน [46]  

เคอร์คูมินเป็นสารประกอบตามธรรมชาติที่ได้รับการทดสอบมากที่สุดตัวหนึ่งจากการศึกษาในห้องทดลองพบว่าเคอร์คูมินเป็นเครื่องมือในการรักษาโรคที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันหรือรักษาผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์ซึ่งมีสาเหตุมาจากปรอทในร่างกาย เคอร์คูมินยังแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการผ่านแนวกั้นระหว่างเลือดและสมอง [47] เพื่อออกฤทธิ์ในการป้องกันความเสียหายจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่นเพื่อที่จะลดจำนวนของสารอนุมูลอิสระ [48] เคอร์คูมินช่วยจับและขับพิษ [49] ของโลหะ ช่วยปรับปริมาณ GSH [50], SOD [51] และ CAT [52] ให้อยู่ในสภาพปรกติ  ปกป้องฮีโมโกลบิน [53] จากการเกิดออกซิเดชัน [54], ทำปฏิกิริยากับองค์ประกอบของเนื้อเยื่อและป้องกันการเกิดกระบวนการ lipid peroxidation [55] ภายในไมโครโซม [56] เม็ดเลือดแดงและโฮโมจีเนตในสมอง [57] [58] [59] [60] [61]

นอกจากนั้น ในสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมในห้องทดลอง เคอร์คูมินยังแสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาอีกหลายอย่าง เช่น เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ต้านมะเร็ง ป้องกันหัวใจ ป้องกันตับ ต้านอาการซึมเศร้า เพิ่มภูมิคุ้มกัน ฯลฯ [62]

โชคร้ายที่สิ่งที่ค้นพบในเบื้องต้นเหล่านี้ไม่ได้รับการสนับสนุนให้นำมาทดลองกับมนุษย์เนื่องจากปริมาณชีวปริมาณออกฤทธิ์ที่ต่ำมากของเคอร์คูมิน ซึ่งมีไม่เกินร้อยละ 0.1 โดยประมาณ [63] ชีวปริมาณออกฤทิ์ที่ต่ำนี้ทำให้เคอร์คูมินไม่สามารถแสดงศักยภาพในการรักษาได้เมื่อได้รับในรูปของผงหรือสารสกัด

จะเห็นได้ว่าการค้นคว้าเกี่ยวกับเคอร์คูมินในห้องทดลองได้ก่อให้เกิดความสนใจในเคอร์คูมินเพิ่มขึ้นมากทั่วโลก โดยจะเห็นได้ชัดในอุตสาหกรรมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ในแทบทุกเว็บไซต์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จะมีส่วนผสมที่ทำจากผงหรือสารสกัดของขมิ้นชันจำหน่ายมากมายรวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของเคอร์คูมินที่มีต่อโรคต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก การนำเสนอข้อมูลโดยวิธีนี้ถูกนำมาใช้สร้างกรอบความคิดในเวลาที่การค้นพบจากห้องทดลองถูกตีความว่าเป็นผลจากการทดสอบทางคลินิก ในความเป็นจริงแล้ว ทั้งสารสกัดและผงของขมิ้นชั้นไม่สามารถทำปฏิกิริยาทางเภสัชวิทยาได้เหมือนกับที่เคอร์คูมินได้แสดงให้เห็นจากการวิจัยในห้องทดลอง

การเพิ่มชีวปริมาณออกฤทธิ์ของเคอร์คูมินกลายมาเป็นหัวข้อในการวิจัยของคนหลายกลุ่มในหลายช่วงทศวรรษที่ผ่านมา [64] ในปัจจุบัน มีการพัฒนาเทคโนโลยีมากมายเพื่อเพิ่มชีวปริมาณออกฤทธิ์ของเคอร์คูมิน และเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดสำหรับการนำส่งสารออกฤทธิ์เข้าไปในกระแสเลือดก็คือไลโปโซม [65]

เทคโนโลยีในการนำส่งเคอร์คูมินโดยใช้ไลโปโซมนั้นทำให้สามารถนำฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่ต้องการมาใช้ในมนุษย์และสัตว์ได้ ซึ่งสามารถเห็นได้จากการศึกษาทางห้องทดลองที่มีมากมายหลายพันครั้ง [66] [67] [68]

References:

1       https://en.wikipedia.org/wiki/Cinnabar

2       https://en.wikipedia.org/wiki/Mercury_(element)

3      https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/mercury-and-health

4      https://en.wikipedia.org/wiki/Mercury_poisoning

5      https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3253456/

6      https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3988285/

7      https://www.paho.org/hq/dmdocuments/2017/2017tn.mercury.products.pdf

8      https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5742931/

9      https://www.who.int/ipcs/publications/cicad/en/cicad50.pdf?ua=1

10    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3395437/

11    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5931703/

12    https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/fnmol.2018.00125/full

13    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3893560/

14    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3395437/

15    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5295325/

16    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5588423/

17    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6108832/

18    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5923699/

19    http://citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/download?doi=10.1.1.562.8809&rep=rep1&type=pdf

20    https://www.intechopen.com/books/autoimmune-diseases-contributing-factors-specific-cases-o

         f-autoimmune-diseases-and-stem-cell-and-other-therapies/immune-complex-deposits-as-  

         feature-of-mercury-induced-sle-like-autoimmune-process-i

21    https://www.jpmph.org/m/journal/view.php?number=1215

22    https://www.researchgate.net/publication/50833778_The_endocrine_disruptive_effects_of_mercury

23    https://onlinelibrary.wiley.com/doi/full/10.1111/bcpt.13264

24    https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1687428519300391

25    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6265773/

26    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4531943/

27    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6088787/

28    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2827581/

29    https://bmcnephrol.biomedcentral.com/articles/10.1186/s12882-019-1413-z

30    https://www.journalhealthpollution.org/doi/pdf/10.5696/2156-9614-5-9.25

31    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5336614/

32    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5717329/

33    https://www.researchgate.net/publication/314505294_Mercury_vapor_caused_liver_

        damage_in_female_rats_A_histopathological_and_stereological_study

34    https://pdfs.semanticscholar.org/7332/da0389ff2ae45cd256b352ca37d47a570ffe.pd

35    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4136938/

36    https://www.longdom.org/open-access/ophthalmic-findings-of-acute-mercury-poisoning-in-primary-

        school-students-2161-0495.S1-010.pdf

37    https://journals.plos.org/plosone/article?id=10.1371/journal.pone.0220859

38    https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/fmed.2019.00168/full

39    https://www.tandfonline.com/doi/pdf/10.1080/15563650902866911

40    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5428306/

41    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3096006/

42    https://neuro.psychiatryonline.org/doi/full/10.1176/jnp.2008.20.4.iv

43    https://www.thelancet.com/journals/lanplh/article/PIIS2542-5196(20)30057-7/fulltext

44    https://en.wikipedia.org/wiki/Curcumin

45    https://en.wikipedia.org/wiki/Curcuminoid

46    https://en.wikipedia.org/wiki/Turmeric

47    https://en.wikipedia.org/wiki/Blood%E2%80%93brain_barrier

48    https://en.wikipedia.org/wiki/Reactive_oxygen_species

49    https://en.wikipedia.org/wiki/Chelation

50    https://en.wikipedia.org/wiki/Glutathione

51    https://en.wikipedia.org/wiki/Superoxide_dismutase

52    https://en.wikipedia.org/wiki/Catalase

53    https://en.wikipedia.org/wiki/Hemoglobin

54    https://en.wikipedia.org/wiki/Redox

55    https://en.wikipedia.org/wiki/Lipid_peroxidation

56    https://en.wikipedia.org/wiki/Microsome

57    https://en.wikipedia.org/wiki/Homogeneity_and_heterogeneity

58    https://ijpsr.com/bft-article/curcumin-administration-attenuates-accumulation-of-mercuric-chloride-in-

        vital-organs-of-experimental-rats-and-leads-to-prevent-hepatic-and-renal-toxicity/?view=fulltext

59    https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1319562X18302560

60    https://www.academia.edu/15996320/Detoxification_and_antioxidant_effects_of_curcumin_in_rats_

        experimentally_exposed_to_mercury

61    http://juzoology.ac.in/images/publication/ProfSangeetaShukla/2017%20(4).pdf

62    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5664031/

63    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6770259/

64    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3918523/

65    https://en.wikipedia.org/wiki/Liposome

66    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3519006/

67    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5557698/

68    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5077137/

SUPREME PHARMATECH CO., LTD. SUPREME PHARMATECH CO., LTD. 399/90-95 Moo 13 Kingkaew Rd. Soi 25/1, T. Rachateva, A. Bangplee, Samutprakan 10540, THAILAND E-Mail : supreme.pharmatech@gmail.com ID Line : supremepharmatech Hotline : 0888 700-007 Tel. +66-2-1307888
Fax +66-2-1307889