DOWNLOAD ARTICLE IN ENGLISH
 าวน์โหลดบทความเป็นภาษาอังกฤษ

ตะกั่วเป็นโลหะพิษที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติซึ่งสามารถพบได้ในเปลือกโลก การนำสารตะกั่วมาใช้อย่างแพร่หลายทำให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมมากมาย รวมทั้งความเสี่ยงต่อมนุษย์และปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญในหลาย ๆ ส่วนของโลก ประเทศที่ประกอบอุตสาหกรรมเหมืองตะกั่วที่ใหญ่ที่สุดในโลกในปี 2559 ได้แก่ จีน ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา เปรู เม็กซิโก รัสเซีย อินเดีย โบลิเวีย สวีเดน ตุรกี อิหร่าน คาซัคสถาน โปแลนด์ แอฟริกาใต้ เกาหลีเหนือ ไอร์แลนด์ มาซิโดเนีย ฯลฯ  และสถานที่เพียงแห่งเดียวในโลกที่มีตะกั่วในหินมากที่สุดก็คือโค้งโคห์สถาน – ลาดัก ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของปากีสถาน [1]

แหล่งที่มาของมลพิษทางสิ่งแวดล้อมที่สำคัญได้แก่ การทำเหมืองแร่ การถลุงแร่ การผลิตเพื่ออุตสาหกรรมและการแปรรูป เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่    การบริโภคตะกั่วที่เพิ่มมากขึ้นทั่วโลกมีสาเหตุมาจากการผลิตแบตเตอรี่แบบตะกั่ว-กรด สำหรับยานพาหนะที่ใช้เครื่องยนต์ อย่างไรก็ตาม ตะกั่วยังถูกนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อีกมากมาย เช่น สีย้อม สีทา น้ำยาประสาน หน้าต่างกระจกสี ชามคริสตัลตะกั่ว กระสุน เครื่องเคลือบเซรามิก เครื่องประดับ ของเล่น ตลอดจนเครื่องสำอางและยาแผนโบราณบางชนิด การดื่มน้ำจากท่อโลหะผสมตะกั่วหรือท่อบัดกรีตะกั่วอาจทำให้ได้รับสารตะกั่วได้เช่นกัน โดยเฉพาะเด็กเล็กที่เสี่ยงต่อพิษของสารตะกั่วเป็นพิเศษ นอกจากนั้น ผู้คนยังอาจได้รับสารตะกั่วจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมผ่านการสูดดมอนุภาคของมันรวมทั้งการบริโภคน้ำและอาหาร (จากภาชนะที่ทำโดยใช้ตะกั่วเคลือบหรือบัดกรี) และการแข่งขันที่เต็มไปด้วยกระสุนตะกั่ว [2]ที่ปนเปื้อนสารตะกั่ว การสะสมของสารตะกั่วภายในร่างกายย่อมก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพเสมอ [3] [4]

เป็นที่ทราบกันดีว่าสารตะกั่วมีคุณสมบัติทางชีวเคมีที่สำคัญซึ่งก่อให้เกิดพิษต่อร่างกายในขณะที่เป็นสาเหตุให้เกิดการหยุดชะงักของเซลล์โมเลกุลและการเปลี่ยนแปลงภายในเซลล์จนกระทั่งถึงขั้นเสียชีวิต ตะกั่วเป็นคู่แข่งของแคลเซียม  ปฏิกิริยาการรวมตัวแบบไอออนนิกของมันจะทำให้มีการสร้างความเครียดออกซิเดชั่นเพิ่มขึ้น ทำให้ระบบเมตาบอลิซึมภายในเซลล์เสื่อมลง เปลี่ยนแปลงการปรับขนาดหลอดเลือดของกล้ามเนื้อเรียบจากการเกิดผลกระทบในระยะ Ca AT และยังส่งผลต่อการถอดรหัสพันธุกรรมของ DNA โดยการทำปฏิกิริยากับโปรตีนที่จับกับกรดนิวคลีอิกซึ่งอาจมีผลต่อการควบคุมยีนอีกด้วย [5]

การได้รับสารตะกั่วเข้าไปในร่างกายเป็นระยะเวลานานสามารถก่อให้เกิดความผิดปรกติในรูปแบบต่าง ๆ ได้ เช่น:

  • พยาธิวิทยาของระบบประสาท [6] [7] [8]
  • ความผิดปรกติของระบบทางเดินอาหาร [9] [10]
  • ความเสียหายของตับ  [11] [12] [13] [14] [15]
  • ความเสียหายต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด [16] [17] [18] [19] [20] [21]
  • ความเสียหายต่อระบบต่อมไร้ท่อ [22] [23]
  • พัฒนาการที่ล่าช้าและการมีพฤติกรรมที่ผิดปรกติของเด็ก [24] [25]
  • มีผลกระทบต่ออายุขัย [26] [27]
  • พยาธิวิทยาของระบบสืบพันธุ์ [28] [29] [30] [31]
  • ความเสียหายของไต [32] [33] [34]
  • การแทรกแซงการหมุนเวียนของกระดูก-แร่ธาตุ [35] [36] [37]
  • มะเร็งที่ปอด กระเพาะอาหาร ไต ทรวงอกและสมอง [38] [39]

จากข้อมูลในการวิจัย เคอร์คูมินเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการป้องกันไม่ให้เกิดการก่อตัวของกระบวนการทางพยาธิวิทยาในร่างกายที่มีสาเหตุมาจากสารพิษ [40]

เคอร์คูมินคือสารเคอร์คูมินอยด์ที่สำคัญ [41] ซึ่งพบได้ในหัวขมิ้นชัน [42]  

เคอร์คูมินเป็นสารประกอบตามธรรมชาติที่ได้รับการทดสอบมากที่สุดตัวหนึ่ง จากการศึกษาในห้องทดลองพบว่าเคอร์คูมิน เป็นเครื่องมือในการรักษาโรคที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันหรือรักษาผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์ซึ่งมีสาเหตุมาจากสารตะกั่วในร่างกาย กลไกในการออกฤทธิ์ของเคอร์คูมิน    เกิดจากฤทธิ์ในการป้องกันผ่านการจับและขับโลหะหนักออกจากร่างกาย [43] การฟื้นฟูและเพิ่มการทำงานของ SOD [44], GSH [45], CAT [46],  การลดอนุมูลอิสระ RNS [47] และ ROS [48] เคอร์คูมินยังมีอิทธิพลต่อการผลิตอินเตอร์ลิวกินส์ [49] และสามารถหยุดกระบวนการอักเสบโดยการ กระตุ้นการทำงานของ NF-kB [50]  มีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่าเคอร์คูมินสามารถยับยั้งการตายของเซลล์โดยการปรับลดโปรตีนที่ทำหน้าที่กระตุ้น 1  (AP-1) [51] ลดการไหลเวียนของไขมัน [52] โดยการยับยั้งการสังเคราะห์กรดไขมัน [53] ในเซลล์ไขมัน [54] รวมทั้งลดการเกิด lipid peroxidation [ 55] และระดับคอเลสเตอรอล LDL ด้วย [56] [57] [58] [59] [60]

นอกจากนั้น ในสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมในห้องทดลอง เคอร์คูมินยังแสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาอีกหลายอย่าง เช่น เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ต้านมะเร็ง ป้องกันหัวใจ ป้องกันตับ ต้านอาการซึมเศร้า เพิ่มภูมิคุ้มกัน ฯลฯ [61]

โชคร้ายที่สิ่งที่ค้นพบในเบื้องต้นเหล่านี้ไม่ได้รับการสนับสนุนให้นำมาทดลองกับมนุษย์เนื่องจากปริมาณชีวปริมาณออกฤทธิ์ที่ต่ำมากของเคอร์คูมิน   ซึ่งมีไม่เกินร้อยละ 0.1 โดยประมาณ [62] ชีวปริมาณออกฤทิ์ที่ต่ำนี้ทำให้เคอร์คูมินไม่สามารถแสดงศักยภาพในการรักษาได้เมื่อได้รับในรูปของผงหรือสารสกัด

จะเห็นได้ว่าการค้นคว้าเกี่ยวกับเคอร์คูมินในห้องทดลองได้ก่อให้เกิดความสนใจในเคอร์คูมินเพิ่มขึ้นมากทั่วโลก โดยจะเห็นได้ชัดในอุตสาหกรรม  เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ในแทบทุกเว็บไซต์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จะมีส่วนผสมที่ทำจากผงหรือสารสกัดของขมิ้นชันจำหน่ายมากมายรวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของเคอร์คูมินที่มีต่อโรคต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก การนำเสนอข้อมูลโดยวิธีนี้ถูกนำมาใช้สร้างกรอบความคิด   ในเวลาที่การค้นพบจากห้องทดลองถูกตีความว่าเป็นผลจากการทดสอบทางคลินิก ในความเป็นจริงแล้ว ทั้งสารสกัดและผงของขมิ้นชั้นไม่สามารถทำปฏิกิริยาทางเภสัชวิทยา ได้เหมือนกับที่เคอร์คูมินได้แสดงให้เห็นจากการวิจัยในห้องทดลอง

การเพิ่มชีวปริมาณออกฤทธิ์ของเคอร์คูมินกลายมาเป็นหัวข้อในการวิจัยของคนหลายกลุ่มในหลายช่วงทศวรรษที่ผ่านมา [63] ในปัจจุบัน มีการพัฒนาเทคโนโลยีมากมายเพื่อเพิ่มชีวปริมาณออกฤทธิ์ของเคอร์คูมิน และเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดสำหรับ
การนำส่งสารออกฤทธิ์เข้าไปในกระแสเลือดก็คือไลโปโซม [64]

เทคโนโลยีในการนำส่งเคอร์คูมินโดยใช้ไลโปโซมนั้นทำให้สามารถนำฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่ต้องการมาใช้ในมนุษย์และสัตว์ได้ ซึ่งสามารถเห็นได้จากการศึกษาทางห้องทดลองที่มีมากมายหลายพันครั้ง [65] [66] [67]

References:

1       https://en.wikipedia.org/wiki/Lead

2       https://link.springer.com/article/10.1007/s13280-019-01159-0

3       https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/lead-poisoning-and-health

4       https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4961898/

5       https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1874356/

6       https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2858639/

7       https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3909981/

8       https://www.hindawi.com/journals/bmri/2014/840547/

9       https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5654721/

10     https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2708379/

11     https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5580229/

12   https://www.researchgate.net/publication/255571302_Some_effects_of_lead_contamination_on_liver_

        and_gallbladder_bile

13     http://ijt.arakmu.ac.ir/article-1-439-en.pdf

14     https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1319562X11000945

15     https://www.nature.com/articles/pr1979168.pdf?origin=ppub

16     https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1849948/

17    https://www.intechopen.com/books/cardiovascular-risk-factors/low-level-exposure-to-lead-as-a-

         cardiovascular-risk-factor

18     https://www.jstage.jst.go.jp/article/jts/43/11/43_623/_html/-char/en

19     https://www.hindawi.com/journals/isrn/2013/234034/

20     https://www.nature.com/articles/s41598-017-09701-4

21     https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5662044/

22     https://link.springer.com/article/10.1007%2FBF03345710

23     https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4934017/

24     https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3598508/

25     https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S2214999614000794

26     https://www.thelancet.com/journals/lanpub/article/PIIS2468-2667(18)30025-2/fulltext

27     https://jamanetwork.com/journals/jamainternalmedicine/fullarticle/214370

28     https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6309352/

29     https://www.cambridge.org/core/journals/zygote/article/impaired-hypothalamicpituitarytesticular-

         axis-activity-spermatogenesis-and-sperm-function-promote-infertility-in-males-with-lead-poisoning/

         7031884B0D3ADA7A2B7920662740F561

30     https://translate.google.co.th hl=en&tab=rT1#view=home&op=translate&sl=en&tl=ru&text=Effects%

         20of%20Lead%20on%20Reproductive%20Health

31     https://www.tandfonline.com/doi/full/10.3109/19396360903582216

32     https://www.kidney-international.org/article/S0085-2538(15)51899-1/fulltext

33     https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2796746/

34     https://core.ac.uk/download/pdf/82384903.pdf

35     https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1519349/

36     https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6323513/

37     https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3386851/

38     https://academic.oup.com/aje/article/166/9/1005/88762

39     https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4317251/

40     https://en.wikipedia.org/wiki/Curcumin

41     https://en.wikipedia.org/wiki/Curcuminoid

42     https://en.wikipedia.org/wiki/Turmeric

43     https://en.wikipedia.org/wiki/Chelation

44     https://en.wikipedia.org/wiki/Superoxide_dismutase

45     https://en.wikipedia.org/wiki/Glutathione

46     https://en.wikipedia.org/wiki/Catalase

47     https://en.wikipedia.org/wiki/Reactive_nitrogen_species

48     https://en.wikipedia.org/wiki/Reactive_oxygen_species

49     https://en.wikipedia.org/wiki/Interleukin

50     https://en.wikipedia.org/wiki/NF-%CE%BAB

51     https://en.wikipedia.org/wiki/AP-1_transcription_factor

52     https://en.wikipedia.org/wiki/Lipid

53     https://en.wikipedia.org/wiki/Fatty_acid

54     https://en.wikipedia.org/wiki/Adipocyte

55     https://en.wikipedia.org/wiki/Lipid_peroxidation

56     https://en.wikipedia.org/wiki/Low-density_lipoprotein

 

 

58    https://www.researchgate.net/publication/332178279_Therapeutic_potential_of_curcumin_against_

        lead-induced_toxicity_A_review

59     https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6770944/

60     https://www.tandfonline.com/doi/figure/10.3109/01480545.2015.1133637scroll=top&

         needAccess=true

61     https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5664031/

62     https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6770259/

63     https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3918523/

64     https://en.wikipedia.org/wiki/Liposome

65     https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3519006/

66     https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5557698/

67     https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5077137/

SUPREME PHARMATECH CO., LTD. SUPREME PHARMATECH CO., LTD. 399/90-95 Moo 13 Kingkaew Rd. Soi 25/1, T. Rachateva, A. Bangplee, Samutprakan 10540, THAILAND E-Mail : supreme.pharmatech@gmail.com ID Line : supremepharmatech Hotline : 0888 700-007 Tel. +66-2-1307888
Fax +66-2-1307889