DOWNLOAD ARTICLE IN ENGLISH
 าวน์โหลดบทความเป็นภาษาอังกฤษ

ทองแดงเป็นองค์ประกอบของโปรตีนจำนวนมากในร่างกายเกือบทั้งหมดของทองแดงในร่างกายจะจับกับโปรตีนส่วนไอออนที่ไม่จับกับสิ่งใดเลย(อิสระ) จะมีความเป็นพิษ โดยธรรมชาติแล้ว ทองแดงจะอยู่ในแร่และในน้ำ [1] แหล่งแร่สำรองที่ใหญ่ที่สุดตั้งอยู่ในประเทศชิลี ซึ่งมี 34% ของปริมาณทั้งหมดในโลก สำหรับสหรัฐอเมริกาและเปรูแต่ละประเทศจะมีแร่จำนวน 9 % อยู่ในซากฟอสซิล, ออสเตรเลียมี 6%, ไซบีเรียตะวันออกเทือกเขาอูราลและคาบสมุทรโคลารวมกันคิดเป็น 5%, ในจีน มี  4%, ในคาซัคสถาน มองโกเลีย แซมเบีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกและเม็กซิโกแต่ละประเทศมี 3%, แคนาดา อาร์เจนตินา อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์แต่ละประเทศ มี 2% และในโปแลนด์มี 1% [2]   ทองแดงถูกนำมาใช้ในการผลิตสายเคเบิล เครื่องกำเนิดไฟฟ้า อุปกรณ์โทรศัพท์และโทรเลข อุปกรณ์วิทยุสื่อสาร เครื่องปรับอากาศ เหรียญ สีย้อมกระจก สารปรุงแต่งอาหาร ในงานศิลปะ การเคลือบตัวเรือด้วยโลหะ แผ่นวงจรพิมพ์ ท่อน้ำเสีย ท่อระบายน้ำ มือจับประตู จาน การกำจัดเชื้อรา สายไฟ เครื่องประดับ สายล่อฟ้า,         เตาไมโครเวฟ,  เครื่องดนตรี, รีเลย์, ตัวนำไฟฟ้า, หลังคากันซึม,  แผ่นลูกฟูก,  รูปปั้น,     ท่อต่างๆ, อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน, เครื่องดูดฝุ่น,      บัสบาร์ทองแดงเคลือบ [3] มนุษย์มีการสัมผัสกับผลิตภัณฑ์ที่ทำจากทองแดงทุก ๆ วันโดยไม่ได้ตระหนักว่าร่างกายได้รับทองแดงบางส่วนผ่านน้ำ  และอาหารทุกวัน [4] การได้รับทองแดงสะสมเป็นระยะเวลานานสามารถก่อความเสียหายต่อสุขภาพได้ [5] เป็นที่ทราบกันดีว่าพิษของทองแดงจะก่อให้เกิดการทำลายเม็ดเลือดแดงในกระแสเลือด [6] ไอออนของทองแดงเมื่อรวมตัวกับออกซิเจนของเหล็ก จะส่งผลให้เกิด การก่อตัวของเมทฮีโมโกลบิน [7] ตามมาด้วยการแตกหักของเซลล์เยื่อบุผิวในร่างกาย ความผิดปรกติ [9] ของไมโทคอนเดรีย [8] และการอุดตัน [10] ของเซลล์ตับ [11] ซึ่งเกิดขึ้นจากการรั่วและการดัดแปลงของเซลล์ [12] การได้รับทองแดงเป็นระยะเวลานานสามารถก่อให้เกิดความผิดปรกติในรูปแบบต่าง ๆ ได้ เช่น:

  • ความเสียหายต่อตับ [13]
  • ความเสียหายต่อไต [14]
  • ความผิดปรกติของทางเดินอาหาร [15]
  • โรควิลสัน [16] [17] จากข้อมูลในการวิจัย เคอร์คูมินเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการป้องกันไม่ให้เกิดการก่อตัวของกระบวนการทางพยาธิวิทยาในร่างกายที่มีสาเหตุ  มาจากสารพิษ [18] เคอร์คูมินคือสารเคอร์คูมินอยด์ที่สำคัญ [19] ซึ่งพบได้ในหัวขมิ้นชัน [20] เคอร์คูมินเป็นสารประกอบตามธรรมชาติที่ได้รับการทดสอบมากที่สุดตัวหนึ่งจากการศึกษาในห้องทดลองพบว่าเคอร์คูมินเป็นเครื่องมือในการรักษาโรคที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันหรือรักษาผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์ซึ่งมีสาเหตุมาจากทองแดงในร่างกาย กลไกในการออกฤทธิ์ของเคอร์คูมินเกิดจากฤทธิ์ในการป้องกันผ่านจับและขับโลหะหนักออกจากร่างกาย [21] การป้องกันการก่อตัวของภาวะเครียดออกซิเดชั่นซึ่งเกิดจากการก่อตัวของสารอนุมูลอิสระที่เพิ่มขึ้น [22] เคอร์คูมินช่วยรักษาความเข้มข้นของเอนไซม์ในตับให้เป็นปกติ [23] ป้องกันการรั่วเข้าสู่ซีรั่มของเลือด กระตุ้นให้เกิดการสร้าง [24] เนื้อเยื่อตับใหม่ ควบคุมความผิดปกติของการสังเคราะห์โปรตีน [25] ป้องกันการเกิดกระบวนการ  lipid peroxidation [26] ปรับระดับของสารยูเรีย  [27] และครีเอตินีน [28] ให้เป็นปรกติ ดังนั้น เคอร์คูมินจึงสามารถป้องกันปฏิกิริยาลูกโซ่ในการทำลายของร่างกายที่มีต่อฤทธิ์ของความเป็นพิษในทองแดงได้ [29] [30] [31] [32] นอกจากนั้น ในสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมในห้องทดลอง เคอร์คูมินยังแสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาอีกหลายอย่าง เช่น เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ต้านมะเร็ง ป้องกันหัวใจ ป้องกันตับ ต้านอาการซึมเศร้า เพิ่มภูมิคุ้มกัน ฯลฯ [33] โชคร้ายที่สิ่งที่ค้นพบในเบื้องต้นเหล่านี้ไม่ได้รับการสนับสนุนให้นำมาทดลองกับมนุษย์เนื่องจากปริมาณชีวปริมาณออกฤทธิ์ที่ต่ำมากของ เคอร์คูมิน ซึ่งมีไม่เกินร้อยละ 0.1 โดยประมาณ [34] ชีวปริมาณออกฤทิ์ที่ต่ำนี้ทำให้เคอร์คูมินไม่สามารถแสดงศักยภาพในการรักษาได้เมื่อได้รับในรูปของผง หรือสารสกัด จะเห็นได้ว่าการค้นคว้าเกี่ยวกับเคอร์คูมินในห้องทดลองได้ก่อให้เกิดความสนใจในเคอร์คูมินเพิ่มขึ้นมากทั่วโลก โดยจะเห็นได้ชัดในอุตสาหกรรมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ในแทบทุกเว็บไซต์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จะมีส่วนผสมที่ทำจากผงหรือสารสกัดของขมิ้นชันจำหน่ายมากมายรวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของเคอร์คูมินที่มีต่อโรคต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก การนำเสนอข้อมูลโดยวิธีนี้ถูกนำมาใช้สร้างกรอบความคิดในเวลาที่การค้นพบจากห้องทดลองถูกตีความว่าเป็นผลจากการทดสอบทางคลินิก ในความเป็นจริงแล้ว ทั้งสารสกัดและผงของขมิ้นชั้นไม่สามารถทำปฏิกิริยาทางเภสัชวิทยาได้เหมือนกับที่เคอร์คูมินได้แสดงให้เห็นจากการวิจัยในห้องทดลองการเพิ่มชีวปริมาณออกฤทธิ์ของเคอร์คูมินกลายมาเป็นหัวข้อในการวิจัยของคนหลายกลุ่มในหลายช่วงทศวรรษที่ผ่านมา [35] ในปัจจุบัน มีการพัฒนาเทคโนโลยีมากมายเพื่อเพิ่มชีวปริมาณออกฤทธิ์ของเคอร์คูมิน และเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดสำหรับ การนำส่งสารออกฤทธิ์เข้าไปในกระแสเลือดก็คือไลโปโซม [36]เทคโนโลยีในการนำส่งเคอร์คูมินโดยใช้ไลโปโซมนั้นทำให้สามารถนำฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่ต้องการมาใช้ในมนุษย์และสัตว์ได้ ซึ่งสามารถเห็นได้จากการศึกษาทางห้องทดลองที่มีมากมายหลายพันครั้ง [37] [38]

References:

1       https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK225400/

2       https://www.researchgate.net/publication/299535658_On_finding_the

         _copper_of_tomorrow_Exploration_targeting_for_copper_reserves_not

3       https://en.wikipedia.org/wiki/Copper

4       https://www.who.int/water_sanitation_health/dwq/chemicals/copper.pdf

5       https://www.researchgate.net/publication/11659368_Environmental_copper_Its_dynamics_

          and_human_exposure_issues

6       https://en.wikipedia.org/wiki/Hemolysis

7       https://en.wikipedia.org/wiki/Methemoglobin

8       https://en.wikipedia.org/wiki/Mitochondrion

9       https://en.wikipedia.org/wiki/Mitochondrial_disease

10     https://en.wikipedia.org/wiki/Jaundice#Post-hepatic

11     https://en.wikipedia.org/wiki/Hepatocyte

12     http://www.isca.in/rjrs/archive/special_issue2012/12.ISCA-

         ISC-2012-4CS-93.pdf

13     https://www.gastrojournal.org/article/0016-5085(78)90473-0/pdf

14     https://link.springer.com/article/10.1007/s00267-019-01234-y

15     https://link.springer.com/article/10.1007/BF01966209

16     https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3940372/

17     https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3002091/

18     https://en.wikipedia.org/wiki/Curcumin

19     https://en.wikipedia.org/wiki/Curcuminoid

20     https://en.wikipedia.org/wiki/Turmeric

21     https://en.wikipedia.org/wiki/Chelation

22     https://en.wikipedia.org/wiki/Reactive_oxygen_species

23     https://en.wikipedia.org/wiki/Enzyme

24     https://en.wikipedia.org/wiki/Regeneration_in_humans

25     https://en.wikipedia.org/wiki/Protein_biosynthesis

26     https://en.wikipedia.org/wiki/Lipid_peroxidation

27     https://en.wikipedia.org/wiki/Urea

28     https://en.wikipedia.org/wiki/Creatinine

29     https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4910845/

30     https://aasldpubs.onlinelibrary.wiley.com/doi/full/10.1002/

         hep.23675

31     https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6037243/

32     https://europepmc.org/article/pmc/pmc2137023

33     https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5664031/

34     https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6770259/

35     https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3918523/

36     https://en.wikipedia.org/wiki/Liposome

37     https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3519006/

38     https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5557698/

SUPREME PHARMATECH CO., LTD. SUPREME PHARMATECH CO., LTD. 399/90-95 Moo 13 Kingkaew Rd. Soi 25/1, T. Rachateva, A. Bangplee, Samutprakan 10540, THAILAND E-Mail : supreme.pharmatech@gmail.com ID Line : supremepharmatech Hotline : 0888 700-007 Tel. +66-2-1307888
Fax +66-2-1307889