DOWNLOAD ARTICLE IN ENGLISH
 СКАЧАТЬ СТАТЬЮ НА РУССКОМ

เราสามารถพบโครเมียมไตรวาเลนต์ที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพได้ในอาหาร อากาศ น้ำและดิน โครเมียมเฮกซะวาเลนต์มีความ
เป็นพิษ โดยจะก่อตัวเป็นโครเมตและไดโครเมตซึ่งจะเกิดในระบบนิเวศเกือบตลอดเวลาอันมีสาเหตุมาจากมลพิษ
ทางอุตสาหกรรม โครเมียมเฮกซะวาเลนต์เป็นสารออกซิแดนท์ที่แรงและมีผลในการก่อมะเร็ง [1] ผู้ผลิตแร่โครเมี่ยมรายใหญ่ที่สุดของโลกในปี 2556 ได้แก่ แอฟริกาใต้ 48% คาซัคสถาน 13% ตุรกี 11% อินเดีย -10% ฟินแลนด์ ซิมบับเว อิหร่าน
และบราซิลรวมกัน 18%

โครเมียมถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในรูปของส่วนผสมสารปรุงแต่งสำหรับการถลุงเหล็กเกรดต่างๆ เพื่อให้มีความแข็ง ความแข็งแรง การทนต่อความร้อนและการกัดกร่อนมากเป็นพิเศษ และโครเมียมยังถูกนำมาใช้
ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง ในสถานประกอบการ ต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมสีและสารเคลือบเงา ในร้านชุบโลหะ อุตสาหกรรม
เซรามิก ไม้ขีดไฟและดอกไม้ไฟ ในรูปของสารที่ใช้เป็นตัวกระทำปฏิกิริยาในขั้นตอนของการเตรียมสีย้อม สารฟอกหนัง การคลุกเมล็ดเพื่ออารักขาพืช ในการผลิตฟิล์มภาพยนตร์และฟิล์มถ่ายภาพ นอกจากนั้น ยังสามารถพบสารประกอบโครเมียมได้ใน
น้ำเสียที่ปล่อยออกมาจากโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมากที่ผลิตเกลือโครเมียม อะเซทิลีน แทนนิน อะนิลีน เสื่อน้ำมัน
กระดาษ สี ยาฆ่าแมลง พลาสติก ฯลฯ [2] [3]

เป็นที่ทราบกันดีกว่าสารประกอบโครเมียมสามารถควบคุมและขัดขวางการเจริญเติบโตของเซลล์ ก่อให้เกิดความเสียหาย
จากอนุมูลอิสระและภาวะเครียดออกซิเดชั่น ควบคุมการเผาผลาญของไขมัน เข้าสู่เนื้อเยื่อทางชีวภาพได้ง่ายและในขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดความเสียหายต่อโปรตีน ไขมันและดีเอ็นเอจากการเกิดอนุมูลอิสระและยังมีกลไกการออกฤทธิ์
ที่ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์และเป็นพิษต่อพันธุกรรมได้อีกด้วย [4]

การได้รับโครเมียมเข้าไปในร่างกายเป็นระยะเวลานานสามารถก่อให้เกิดความผิดปรกติในรูปแบบต่าง ๆ ได้ เช่น:

  • พยาธิสภาพของผิวหนังและเยื่อเมือก [5]
  • การเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพในโครงสร้างของปอดและหลอดลม [6]
  • การหยุดชะงักของระบบหัวใจและหลอดเลือดพร้อมการก่อตัวของกระบวนการทางพยาธิวิทยาที่เพิ่มมากขึ้น [7]
  • การหยุดชะงักของระบบประสาทอัตโนมัติพร้อมการก่อตัวของกระบวนการทางพยาธิวิทยาที่เพิ่มมากขึ้น [8]
  • การหยุดชะงักของระบบทางเดินอาหารพร้อมการก่อตัวของกระบวนการทางพยาธิวิทยาที่เพิ่มมากขึ้น [9] [10]
  • ความผิดปรกติของระบบที่เกี่ยวกับตับ ถุงน้ำดีและท่อน้ำดี [11]
  • มะเร็งในปอด กล่องเสียง กระเพาะอาหาร ไต ลูกอัณฑะ กระดูกและต่อมไทรอยด์ [12]

จากข้อมูลในการวิจัย เคอร์คูมินเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการป้องกันไม่ให้เกิดการก่อตัวของกระบวนการทางพยาธิวิทยาในร่างกายที่มีสาเหตุมาจากสารพิษ [13]

เคอร์คูมินคือสารเคอร์คูมินอยด์ที่สำคัญ [14] ซึ่งพบได้ในหัวขมิ้นชัน [15]  

เคอร์คูมินเป็นสารประกอบตามธรรมชาติที่ได้รับการทดสอบมากที่สุดตัวหนึ่ง จากการศึกษาในห้องทดลองพบว่าเคอร์คูมินเป็นเครื่องมือในการรักษาโรคที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันหรือรักษาผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์ซึ่งมีสาเหตุมาจากโครเมียม
ในร่างกาย

กลไกในการออกฤทธิ์ของเคอร์คูมินเกิดจากฤทธิ์ในการป้องกันความเสียหายซึ่งมีสาเหตุมาจากกระบวนการออกซิเดชั่นโดยสารอนุมูลอิสระและการคงไว้ซึ่งฤทธิ์ของเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระ [16] เคอร์คูมินจะจับและขับ [17] ความเป็นพิษของโลหะ ส่งเสริมการฟื้นฟูระดับกลูตาไธโอน [18] ยับยั้งการเปิดของ PTP [19] ซึ่งส่งผลให้สามารถป้องกันการเกิดปฏิกิริยา lipid peroxidation [20] และการสูญเสียความต่างศักย์ที่ส่งผ่านผิวของไมโตคอนเดรีย [21] ได้ เคอร์คูมินยังช่วยกระตุ้นดีเอ็นเอ 06-methylguanine methyltransferase (MGMT) [22] ซึ่งเป็นโปรตีนที่จำเป็นสำหรับการปกป้องเซลล์ได้อีกด้วย [23] [24] [25]

นอกจากนั้น ในสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมในห้องทดลอง เคอร์คูมินยังแสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาอีกหลายอย่าง เช่น เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ต้านมะเร็ง ป้องกันหัวใจ ป้องกันตับ ต้านอาการซึมเศร้า เพิ่มภูมิคุ้มกัน ฯลฯ [26]

โชคร้ายที่สิ่งที่ค้นพบในเบื้องต้นเหล่านี้ไม่ได้รับการสนับสนุนให้นำมาทดลองกับมนุษย์เนื่องจากปริมาณชีวปริมาณออกฤทธิ์ที่ต่ำมากของเคอร์คูมิน ซึ่งมีไม่เกินร้อยละ 0.1 โดยประมาณ [27] ชีวปริมาณออกฤทิ์ที่ต่ำนี้ทำให้เคอร์คูมินไม่สามารถแสดงศักยภาพในการรักษาได้เมื่อได้รับในรูปของผงหรือสารสกัด

จะเห็นได้ว่าการค้นคว้าเกี่ยวกับเคอร์คูมินในห้องทดลองได้ก่อให้เกิดความสนใจในเคอร์คูมินเพิ่มขึ้นมากทั่วโลก โดยจะเห็น
ได้ชัดในอุตสาหกรรมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ในแทบทุกเว็บไซต์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จะมีส่วนผสมที่ทำจากผงหรือสารสกัดของขมิ้นชันจำหน่ายมากมายรวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของเคอร์คูมินที่มีต่อโรคต่าง ๆ
เป็นจำนวนมาก การนำเสนอข้อมูลโดยวิธีนี้ถูกนำมาใช้สร้างกรอบความคิดในเวลาที่การค้นพบจากห้องทดลองถูกตีความ
ว่าเป็นผลจากการทดสอบทางคลินิก ในความเป็นจริงแล้ว ทั้งสารสกัดและผงของขมิ้นชั้นไม่สามารถทำปฏิกิริยาทางเภสัชวิทยาได้เหมือนกับที่เคอร์คูมินได้แสดงให้เห็นจากการวิจัยในห้องทดลอง

การเพิ่มชีวปริมาณออกฤทธิ์ของเคอร์คูมินกลายมาเป็นหัวข้อในการวิจัยของคนหลายกลุ่มในหลายช่วงทศวรรษที่ผ่านมา [28] ในปัจจุบัน มีการพัฒนาเทคโนโลยีมากมายเพื่อเพิ่มชีวปริมาณออกฤทธิ์ของเคอร์คูมิน และเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดสำหรับการนำส่งสารออกฤทธิ์เข้าไปในกระแสเลือดก็คือไลโปโซม [29]

เทคโนโลยีในการนำส่งเคอร์คูมินโดยใช้ไลโปโซมนั้นทำให้สามารถนำฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่ต้องการมาใช้ในมนุษย์และสัตว์ได้ ซึ่งสามารถเห็นได้จากการศึกษาทางห้องทดลองที่มีมากมายหลายพันครั้ง [30] [31]

References:

1          https://en.wikipedia.org/wiki/Hexavalent_chromium

2          https://en.wikipedia.org/wiki/Chromium

3          https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5008208/

4          https://op.europa.eu/en/publication-detail/-/publication/cb804ad3-7ff0-491c-a6e0-050ddb900a77/language-en

5          https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4765249/

6          https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1440778/

7          https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5458105/

8          https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1028729/

9          https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4522702/

10      https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3604738/

11      https://link.springer.com/article/10.1007%2FBF01623516

12      https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6369173/

13      https://en.wikipedia.org/wiki/Curcumin

14      https://en.wikipedia.org/wiki/Curcuminoid

15      https://en.wikipedia.org/wiki/Turmeric

16      https://en.wikipedia.org/wiki/Reactive_oxygen_species

17      https://en.wikipedia.org/wiki/Chelation

18      https://en.wikipedia.org/wiki/Glutathione

19      https://en.wikipedia.org/wiki/Mitochondrial_permeability_transition_pore

20      https://en.wikipedia.org/wiki/Lipid_peroxidation

21      https://en.wikipedia.org/wiki/Mitochondrial_fusion

22      https://en.wikipedia.org/wiki/O-6-methylguanine-DNA_methyltransferase

23      https://www.hindawi.com/journals/ecam/2013/424692/

24      https://www.researchgate.net/publication/308427138_The_Effect_of_Chromium_Picolinate_On_Liver_Enzymes_

1. and_Neurotransmittersin_the_Male_Rats

25      https://eenvandaag.avrotros.nl/fileadmin/editorial/docs/chandraenvtoxicolpharmacol242007160.pdf

26      https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5664031/

27      https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6770259/

28      https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3918523/

29      https://en.wikipedia.org/wiki/Liposome

30      https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3519006/

31      https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5557698/

SUPREME PHARMATECH CO., LTD. SUPREME PHARMATECH CO., LTD. 399/90-95 Moo 13 Kingkaew Rd. Soi 25/1, T. Rachateva, A. Bangplee, Samutprakan 10540, THAILAND E-Mail : supreme.pharmatech@gmail.com ID Line : supremepharmatech Hotline : 0888 700-007 Tel. +66-2-1307888
Fax +66-2-1307889