DOWNLOAD ARTICLE IN ENGLISH
 ดาวน์โหลดบทความเป็นภาษาอังกฤษ

สารหนูเป็นองค์ประกอบของเปลือกโลกที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและกระจายอยู่ทั่วไปในอากาศ ในน้ำและในดิน

สารหนูที่อยู่ในรูปบบอนินทรีย์จะมีความเป็นพิษสูง [1] ภัยคุกคามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดต่อสุขภาพของมนุษย์คือการใช้น้ำที่ปนเปื้อนสารหนูมาบริโภค ปรุงอาหารและทำการชลประทานเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจที่เป็นอาหาร ซึ่งจะกลายมาเป็นอาหารของมนุษย์
ในท้ายที่สุด [2]

ควรสังเกตว่าโดยธรรมชาติแล้ว จะมีสารหนูจำนวนมากปะปนอยู่ในน้ำบาดาลของหลาย ๆ ประเทศ เช่น จีน โมรอคโค ไทย เกาหลีใต้ รัสเซีย เบลเยี่ยม โบลิเวีย ญี่ปุ่น

อาร์เจนติน่า บังคลาเทศ อินเดีย เม็กซิโก สหรัฐอเมริกาและชิลี

มีการนำสารหนูมาใช้เป็นส่วนผสมในสารปรุงแต่งกันอย่างกว้างขวาง รวมทั้งใช้ในกระบวนการแปรรูปของแก้ว สีย้อม สิ่งทอ กระดาษ สารยึดติดประเภทโลหะ น้ำยารักษาเนื้อไม้และในการผลิตอาวุธยุทธภัณฑ์ต่าง ๆ

นอกจากนั้น สารหนูยังถูกนำมาใช้ในกระบวนการฟอกหนังและบางส่วนของการผลิตยาฆ่าแมลง สารปรุงแต่งในอาหารสัตว์รวมทั้งเภสัชภัณฑ์ด้วย [3] ผู้ที่สูบยาสูบอาจได้รับความเสี่ยงจากสารหนูแบบอนินทรีย์ที่พบได้ในยาสูบซึ่งเกิดขึ้นเอง
ตามธรรมชาติ เนื่องจากต้นยาสูบซึมซับสารหนูจำนวนมากมาจากดิน [4], [5]

สารหนูสามารถกดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในสัตว์และมนุษย์ได้และยังเป็นสาเหตุให้เกิดการก่อตัวของสารอนุมูลอิสระที่มากเกิน  เร่งการเกิดภาวะเครียดออกซิเดชั่น ส่งผลกระทบต่อกลุ่มยีนในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต โปรตีน คาร์โบไฮเดรตที่ทำหน้าที่
เป็นโครงสร้างและไขมันภายในเซลล์ได้อีกด้วย [6]

การได้รับสารหนูเป็นเวลานานจะส่งผลให้เกิดความผิดปรกติในรูปแบบต่าง ๆ ได้ เช่น:

  • โรคเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ (กล้ามเนื้อหัวใจตาย กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ความดันโลหิตสูง ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ โรคโลหิตลจางเพราะขาดวิตามินบี 12 และ hemorrhagic aleukia [7]
  • มะเร็งผิวหนัง ปอด กระเพาะปัสสาวะ ตับ ต่อมลูกหมากและเม็ดเลือดขาว [8] [9]
  • โรคอัมพฤกษ์/อัมพาตและโรคหลอดเลือดสมอง [10]
  • โรคเรื้อรังเกี่ยวกับทางเดินหายใจส่วนล่าง
  • ความผิดปกติของระบบประสาท (อาการชา, การขยายตัวผิดปรกติของอวัยวะหรือเนื้อเยื่อ, อัมพาต, อัมพฤกษ์, กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน, เส้นประสาทตาและหูอักเสบ, ความผิดปกติของหูชั้นใน, ปลายประสาทอักเสบ)
     [12] [13]
  • ความผิดปรกติของอวัยวะสืบพันธุ์ [14] [15]
  • โรคตับ รวมทั้งโรคตับอักเสบเรื้อรัง  [16] [17]
  • โรคเบาหวาน [18]
  • ไตวายจากความเป็นพิษ [19] [20]
  • กล้ามเนื้อลีบ [21]

จากข้อมูลในการวิจัย เคอร์คูมินเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการป้องกันไม่ให้เกิดการก่อตัวของกระบวนการทางพยาธิวิทยาในร่างกายที่มีสาเหตุมาจากสารพิษ [22]

เคอร์คูมินคือสารเคอร์คูมินอยด์ที่สำคัญ [23] ซึ่งพบได้ในหัวขมิ้นชัน [24]  เคอร์คูมินเป็นสารประกอบตามธรรมชาติที่ได้รับการทดสอบมากที่สุดตัวหนึ่ง จากการศึกษาในห้องทดลองพบว่าเคอร์คูมินเป็นเครื่องมือในการรักษาโรคที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันหรือรักษาผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์ซึ่งมีสาเหตุมาจากสารหนูในร่างกาย

กลไกในการออกฤทธิ์ของเคอร์คูมินเกิดจากการป้องกันไม่ให้มีการผลิตสารอนุมูลอิสระมากเกินไป [25] การขัดขวางการทำลายเซลล์และปฏิกิริยา lipid peroxidation โดยการเพิ่มปริมาณเอ็นไซม์ [26], [27], catalase  [28], superoxide dismutase [29] และ  glutathione peroxidase [30]  ในการกำจัดสารพิษในขั้นตอนที่ 2  เคอร์คูมินยังเพิ่มการทำงานของเทโลเมอเรส [31]
เร่งปฏิกิริยาในการซ่อมแซมดีเอ็นเอและลดการตายของเซลล์ประสาทที่เกิดจากการได้รับสารหนูเกินได้อีกด้วย [32] [33] [34] [35] [36]

นอกจากนั้น ในสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมในห้องทดลอง เคอร์คูมินยังแสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาอีกหลายอย่าง เช่น เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ต้านมะเร็ง ป้องกันหัวใจ ป้องกันตับ ต้านอาการซึมเศร้า เพิ่มภูมิคุ้มกัน ฯลฯ [37]

โชคร้ายที่สิ่งที่ค้นพบในเบื้องต้นเหล่านี้ไม่ได้รับการสนับสนุนให้นำมาทดลองกับมนุษย์เนื่องจากปริมาณชีวปริมาณออกฤทธิ์
ที่ต่ำมากของเคอร์คูมิน ซึ่งมีไม่เกินร้อยละ 0.1 โดยประมาณ [38] ชีวปริมาณออกฤทิ์ที่ต่ำนี้ทำให้เคอร์คูมินไม่สามารถแสดงศักยภาพในการรักษาได้เมื่อได้รับในรูปของผงหรือสารสกัด

จะเห็นได้ว่าการค้นคว้าเกี่ยวกับเคอร์คูมินในห้องทดลองได้ก่อให้เกิดความสนใจในเคอร์คูมินเพิ่มขึ้นมากทั่วโลก โดยจะเห็นได้ชัดในอุตสาหกรรมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ในแทบทุกเว็บไซต์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จะมีส่วนผสมที่ทำจากผงหรือสารสกัดของขมิ้นชันจำหน่ายมากมายรวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของเคอร์คูมินที่มีต่อโรคต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก การนำเสนอข้อมูลโดยวิธีนี้ถูกนำมาใช้สร้างกรอบความคิดในเวลาที่การค้นพบจากห้องทดลองถูกตีความว่าเป็นผลจากการทดสอบทางคลินิก   ในความเป็นจริงแล้ว ทั้งสารสกัดและผงของขมิ้นชั้นไม่สามารถทำปฏิกิริยาทางเภสัชวิทยาได้เหมือนกับที่เคอร์คูมินได้แสดงให้เห็นจากการวิจัยในห้องทดลอง

การเพิ่มชีวปริมาณออกฤทธิ์ของเคอร์คูมินกลายมาเป็นหัวข้อในการวิจัยของคนหลายกลุ่มในหลายช่วงทศวรรษที่ผ่านมา [39] ในปัจจุบัน มีการพัฒนาเทคโนโลยีมากมายเพื่อเพิ่มชีวปริมาณออกฤทธิ์ของเคอร์คูมิน และเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดสำหรับ
การนำส่งสารออกฤทธิ์เข้าไปในกระแสเลือดก็คือไลโปโซม [40]

เทคโนโลยีในการนำส่งเคอร์คูมินโดยใช้ไลโปโซมนั้นทำให้สามารถนำฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่ต้องการมาใช้ในมนุษย์และสัตว์ได้ ซึ่งสามารถเห็นได้จากการศึกษาทางห้องทดลองที่มีมากมายหลายพันครั้ง [41] [42]

References:

1            https://en.wikipedia.org/wiki/Arsenic

2            https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK541125/

3            https://www.epa.gov/sites/production/files/2014-03/documents/a_review_of_arsenic_poisoning_and_its_effects_on_human_health_3v.pdf

4            https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4275931/

5            https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6338230/

6            https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5580875/

7            https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3483370/

8            https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1519547/

9            https://www.hindawi.com/journals/jt/2011/431287/

10        https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5742041/

11        https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4821752/

12        https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4026128/

13        https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S221499961400304X

14        https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4786478/

15        https://www.researchgate.net/publication/222251712_Adverse_effects_of_arsenic_exposure_on_uterine_function_and_structure_in_female_rat

16        https://bmcpublichealth.biomedcentral.com/articles/10.1186/1471-2458-12-639

17        https://www.tandfonline.com/doi/abs/10.1081/CLT-100100949?src=recsys&journalCode=ictx19

18        https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4427062/

19        https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4159179/

20        https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4492804/

21        https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4159748/

22        https://en.wikipedia.org/wiki/Curcumin

23        https://en.wikipedia.org/wiki/Curcuminoid

24        https://en.wikipedia.org/wiki/Turmeric

25        https://en.wikipedia.org/wiki/NOX2

26        https://en.wikipedia.org/wiki/Lipid

27        https://en.wikipedia.org/wiki/NAD(P)H_dehydrogenase,_quinone_2

28        https://en.wikipedia.org/wiki/Catalase

29        https://en.wikipedia.org/wiki/Superoxide_dismutase

30        https://en.wikipedia.org/wiki/Glutathione_peroxidase

31        https://en.wikipedia.org/wiki/Telomerase

32        https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5580875/

33        https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2274986/pdf/jcbn-41-32.pdf

34        https://www.jstage.jst.go.jp/article/jcbn/41/1/41_1_32/_pdf/-char/ja

35        http://downloads.hindawi.com/journals/omcl/2013/412576.pdf

36        https://www.tandfonline.com/doi/full/10.3109/1547691X.2011.637530

37        https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5664031/

38        https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6770259/

39        https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3918523/

40        https://en.wikipedia.org/wiki/Liposome

41        https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3519006/

42        https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5557698/

SUPREME PHARMATECH CO., LTD. SUPREME PHARMATECH CO., LTD. 399/90-95 Moo 13 Kingkaew Rd. Soi 25/1, T. Rachateva, A. Bangplee, Samutprakan 10540, THAILAND E-Mail : supreme.pharmatech@gmail.com ID Line : supremepharmatech Hotline : 0888 700-007 Tel. +66-2-1307888
Fax +66-2-1307889