DOWNLOAD ARTICLE IN ENGLISH
 ดาวน์โหลดบทความเป็นภาษาอังกฤษ

กลไกในการออกฤทธิ์ของเคอร์คูมินเกิดจากปฏิกิริยาระหว่างโลหะกับลิแกนด์ [38] ซึ่งจะลดปริมาณของโลหะหนัก
และผลกระทบที่เป็นพิษต่อร่างกายได้  ยิ่งไปกว่านั้น เคอร์คูมินยังสามารถแทรกแซงการดูดซึมแคดเมียมในทางเดินอาหาร [39] ส่งผลให้ความเข้มข้นของแคดเมียมในเลือดและเนื้อเยื่อลดลง สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าเคอร์คูมินอาจมีฤทธิ์ในการจับและขับโลหะหนักออกจากร่างกายได้ [40]

เคอร์คูมินยังช่วยเพิ่ม GSH [41] ทำให้อัตราส่วนรีดอกซ์ของ GSH เป็นปกติ ก่อให้เกิดการแสดงออกของแกมมา-กลูตามิลซี
สเตอีนลิกาส [42]  ซึ่งเป็นยีนปลายทางของเส้นทางการส่งสัญญาณ Nrf2-ARE [43]  เคอร์คูมินสามารถควบคุมตัวกระตุ้น transcription factor Nrf2 ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยังป้องกันการหลั่งของ IL-6 [44], IL-8 [45] ที่เกิดจากแคดเมียมได้ด้วย [46] [47] [48]

นอกจากนั้น ในสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมในห้องทดลอง เคอร์คูมินยังแสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาอีกหลายอย่าง เช่น เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ต้านมะเร็ง ป้องกันหัวใจ ป้องกันตับ ต้านอาการซึมเศร้า เพิ่มภูมิคุ้มกัน ฯลฯ [49]

โชคร้ายที่สิ่งที่ค้นพบในเบื้องต้นเหล่านี้ไม่ได้รับการสนับสนุนให้นำมาทดลองกับมนุษย์เนื่องจากปริมาณชีวปริมาณออกฤทธิ์
ที่ต่ำมากของเคอร์คูมิน ซึ่งมีไม่เกินร้อยละ 0.1 โดยประมาณ [50] ชีวปริมาณออกฤทธิ์ที่ต่ำนี้ทำให้เคอร์คูมินไม่สามารถแสดงศักยภาพในการรักษาได้เมื่อได้รับในรูปของผงหรือสารสกัด

จะเห็นได้ว่าการค้นคว้าเกี่ยวกับเคอร์คูมินในห้องทดลองได้ก่อให้เกิดความสนใจในเคอร์คูมินเพิ่มขึ้นมากทั่วโลก โดยจะเห็น
ได้ชัดในอุตสาหกรรมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ในแทบทุกเว็บไซต์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จะมีส่วนผสมที่ทำ
จากผงหรือสารสกัดของขมิ้นชันจำหน่ายมากมายรวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของเคอร์คูมินที่มีต่อโรคต่าง ๆ
เป็นจำนวนมาก การนำเสนอข้อมูลโดยวิธีนี้ถูกนำมาใช้สร้างกรอบความคิดในเวลาที่การค้นพบจากห้องทดลองถูกตีความว่าเป็นผลจากการทดสอบทางคลินิก ในความเป็นจริงแล้ว ทั้งสารสกัดและผงของขมิ้นชั้นไม่สามารถทำปฏิกิริยาทางเภสัชวิทยาได้เหมือนกับที่เคอร์คูมินได้แสดงให้เห็นจากการวิจัยในห้องทดลอง

การเพิ่มชีวปริมาณออกฤทธิ์ของเคอร์คูมินกลายมาเป็นหัวข้อในการวิจัยของคนหลายกลุ่มในหลายช่วงทศวรรษที่ผ่านมา [51] ในปัจจุบัน มีการพัฒนาเทคโนโลยีมากมายเพื่อเพิ่มชีวปริมาณออกฤทธิ์ของเคอร์คูมิน และเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดสำหรับการนำส่งสารออกฤทธิ์เข้าไปในกระแสเลือดก็คือไลโปโซม [52]

เทคโนโลยีในการนำส่งเคอร์คูมินโดยใช้ไลโปโซมนั้นทำให้สามารถนำฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่ต้องการมาใช้ในมนุษย์และสัตว์ได้ ซึ่งสามารถเห็นได้จากการศึกษาทางห้องทดลองที่มีมากมายหลายพันครั้ง [53] [54]

References:

1           https://en.wikipedia.org/wiki/Cadmium

2           https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK304372/

3           https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7312803/

4           https://err.ersjournals.com/content/27/147/170122

5           https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4869628/

6           https://en.wikipedia.org/wiki/Deletion_(genetics)

7           https://en.wikipedia.org/wiki/Glutathione

8           https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5596182/

9           https://thorax.bmj.com/content/thoraxjnl/68/6/565.full.pdf

10        https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4871351/

11        https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4234139/

12        https://www.osha.gov/Publications/OSHA_3675.pdf

13        https://www.cdc.gov/niosh/pgms/worknotify/cadmium.html

14        https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3858820/

15        https://www.ahajournals.org/doi/pdf/10.1161/CIRCOUTCOMES.112.000663

16        https://www.nature.com/articles/s41598-019-49807-5

17        https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3974907/

18        https://academic.oup.com/toxsci/article/147/2/524/1622326

19        https://www.longdom.org/open-access/liver-and-cadmium-toxicity-2157-7609.S5-001.pdf

20        https://www.karger.com/Article/FullText/452576

21        https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4498763/

22        https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6124006/

23        https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2826165/

24        https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1008708/

25        https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3399253/

26        https://www.hindawi.com/journals/bmri/2017/1981837/

27        https://link.springer.com/article/10.1007%2Fs11356-014-2970-0

28        https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2790513/

29        https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5734474/

30        https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5762577/

31        https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2709710/

32        https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4192515/

33        https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4613260/

34        https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5431928/

35        https://en.wikipedia.org/wiki/Curcumin

36        https://en.wikipedia.org/wiki/Curcuminoid

37        https://en.wikipedia.org/wiki/Turmeric

38        https://en.wikipedia.org/wiki/Metal%E2%80%93ligand_

            multiple_bond

39        https://en.wikipedia.org/wiki/Absorption

40        https://en.wikipedia.org/wiki/Chelation

41        https://en.wikipedia.org/wiki/GSH

42        https://en.wikipedia.org/wiki/Gamma-L-Glutamyl-L-cysteine

43        https://en.wikipedia.org/wiki/NFE2L2

44        https://en.wikipedia.org/wiki/Anti-IL-6

45        https://en.wikipedia.org/wiki/Interleukin_8

46        https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3967187/

47        https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3259219/

48        https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4263715/

49        https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5664031/

50        https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6770259/

51        https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3918523/

52        https://en.wikipedia.org/wiki/Liposome

53        https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3519006/

54        https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5557698/

SUPREME PHARMATECH CO., LTD. SUPREME PHARMATECH CO., LTD. 399/90-95 Moo 13 Kingkaew Rd. Soi 25/1, T. Rachateva, A. Bangplee, Samutprakan 10540, THAILAND E-Mail : supreme.pharmatech@gmail.com ID Line : supremepharmatech Hotline : 0888 700-007 Tel. +66-2-1307888
Fax +66-2-1307889